Advertisement
Home หนังสือ รีวิวหนังสือ DIY ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

รีวิวหนังสือ DIY ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

รีวิวหนังสือ DIY ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

รายละเอียด

ผู้เขียน : Apple House Publishing Company

ผู้แปล : ชาญ ธนประกอบ

สำนักพิมพ์ : Inspire สำนักพิมพ์ในเครือนานมีบุ๊คส์

Advertisement

ราคา : 165 บาท


มค่อนข้างแปลกใจเมื่อหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่านแล้วพบความจริงที่ว่า หนังสือเล่มนี้ถูกแปลมาจากภาษาจีนอีกทีหนึ่ง เล่าที่ไปที่มาก่อนว่าเศษอาหารในครัวเรือนที่ไต้หวันนั้นแต่ละวันมีอยู่มากมายก่ายกอง รัฐบาลจึงหันมารณรงค์ให้นำเศษอาหารเหล่านั้นมารีไซเคิลเป็นปุ๋ยหมักซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อกับพืชได้ เพื่อเป็นการลดขยะที่เกิดจากการบริโภค รวมถึงออกกฏหมายห้ามทิ้งเศษอาหารปะปนกับขยะประเภทอื่นด้วย

        ย้อนกลับมาดูบ้านเราก็คงไม่ต่างกันกับการบริโภคอาหารในครัวเรือนที่อาจมีเศษอาหารเหลือทิ้งอยู่แล้ว หากเรานำมาทำปุ๋ยหมักและปลูกพืชกินเอง นอกจากจะมีสุขภาพที่ดีและกำจัดขยะได้แล้ว ยังช่วยในการลดมลภาวะของสิ่งแวดล้อมอีกด้วย หนังสือเล่มนี้จะแนะนำการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารที่สามารถทำได้ทุกที่ไม่ว่าจะเป็นในครัวเรือน อาพาร์ทเมนต์ คอนโดมิเนียม หอพักก็สามารถทำปุ๋ยหมักได้เช่นกัน พร้อมสอนวิธีการประดิษฐ์กล่องสำหรับหมักปุ๋ยแบบง่ายอีกด้วย โดยเนื้อหาในเล่มนี้จะแบ่งออกเป็น 5 ตอนดังนี้

หนังสือ DIY ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร
เรื่องต่าง ๆ ในหนังสือแบ่งออกเป็น 5 ตอน

ตอนที่ 1 บ้านของฉันทำปุ๋ยหมักได้ไหม

        ในตอนนี้จะเป็นการไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก ทั้งชี้ให้เห็นผลเสียของการนำขยะไปทิ้งโดยจะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และตอบคำถามสำหรับมือใหม่ที่มักจะมีปัญหาคาใจเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก มีการอธิบายเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักระบบปิด (ไม่ใช้อากาศ) และระบบเปิด (ใช้อากาศ) การควบคุมอุณหภูมิ ,การย่อยสลาย ,สิ่งที่นำมาหมักได้และไม่ได้ ,อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้สำหรับหมักปุ๋ย ,จนกระทั้งการตรวจสอบปุ๋ยที่หมักเสร็จสมบูรณ์

ตอนที่ 2 วิธีทำปุ๋ยหมักง่าย ๆ ในบ้าน

        จะแนะนำการทำปุ๋ยหมักแบบต่าง ๆ โดยมีการใช้จุลินทรีย์เข้ามาเป็นตัวแปรในการย่อยสลายเศษอาหาร มีภาพประกอบในการทำแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็น

  • ปุ๋ยหมักระบบปิด
  • ปุ๋ยหมักระบบเปิด
  • ปุ๋ยหมักจากใบไม้
  • ปุ๋ยหมักแบบระบายอากาศ
  • ปุ๋ยหมักในกระสอบ
  • ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน
  • ปุ๋ยหมักโบกาฉิ

โดยแนะการทำแบบ Step By Step เป็นระเบียบน่าอ่านและมีเทคนิคสอดแทรกเป็นระยะ

ตอนที่ 3 พร้อมทำปุ๋ยหมักที่บ้านแล้วหรือยัง

        อย่างที่บอกครับว่าเนื้อหาในเล่มนี้เน้นไปที่การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารภายในครัวเรือน แต่เราก็สามารถนำเศษอาหารมาหมักกับวัตถุอื่น ๆ ได้ ในตอนที่ 3 นี้จะแนะนำการเก็บรักษาปุ๋ยหมักที่เราหมักแล้วไว้ในครัวเรือน เช่น ระเบียง ห้องครัว ดาดฟ้า เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของเรา และยังมีวิธีการประดิษฐ์กล่องและถังสำหรับหมักปุ๋ยอีกด้วย

ตอนที่ 4 บำรุงพืชด้วยปุ๋ยหมักสูตรผสมเอง

        ตอนนี้จะแนะนำเกี่ยวกับธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชและอินทรีย์วัตถุที่ให้ธาตุอาหารชนิดนั้น ๆ โดยการปลูกพืชแต่ละชนิดก็ต้องคำนึงถึงสารอาหารที่จะนำมาให้กับพืชซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกัน เช่นพืชกินใบควรเน้นไนโตรเจน ,พืชกินผลควรเน้นโพแทสเซียมก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อให้มีรสหวาน ,หรือการนำฟอสฟอรัสมาเร่งรากและดอกเพื่อทำให้พืชเจริญเติบโตดี ก็ได้มีการแนะนำไว้ในตอนนี้เช่นกัน สุดท้ายสำหรับมือใหม่ที่หัดปลูกพืชควรเน้นพืชกินใบและมีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้นก่อนเนื่องจากดูแลรักษาง่าย

ตอนที่ 5 ตัวอย่างนักปฏิบัติผู้มีความสุข

        ในตอนนี้จะเป็นตัวอย่างของผู้ปฏิบัติจริงจากการนำปุ๋ยหมักไปใช้ประโยชน์จนเกิดเป็นมรรคผล ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใด เด็กหรือผู้สูงอายุ ขอเพียงมีความตั้งใจจริงก็สามารถเปลี่ยนเศษอาหารมาเป็นปุ๋ยหมักได้ โดยมีตัวอย่างของนักธุรกิจที่ทำเกษตรบนชั้นดาดฟ้าโดยใช้ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ,เจ้าของฟาร์เกษตรอินทรีย์ที่ชี้ให้เห็นว่าการพึ่งพาตนเองจากการทำเกษตรอินทรีย์สามารถทำให้เป็นจริงได้ ,หรือแม้กระทั้งนักเรียนตัวน้อยที่สนใจการทำเกษตรอินทรีย์ก็สามารถนำทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารมาใช้เองได้ จะเห็นได้ว่าไม่ว่าใครก็สามารถทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนได้ และผลจากการนำปุ๋ยหมักมาใช้ในการปลูกพืชเราก็จะได้ผลผลิตที่ดีต่อสุขภาพ ปลอดภัยต่อตนเองและลดภาระขยะที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญมีทั้งความสุขสนุกและท้าทายอีกด้วย

 

บทส่งท้าย

        ท้ายเล่มนี้จะมีการให้เราบันทึกการทำปุ๋ยหมักที่เราทำเอง ทั้งการจดบันทึกและการปะติดรูปภาพ ผมจึงเห็นข้อดีที่ทำแบบนี้ที่ว่า รัฐบาลของเราควรส่งเสริมเรื่องการทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือนไว้ในหมวดวิชาการงานอาชีพด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมในเด็กเห็นความสำคัญของสิ่งเหลือใช้ที่สามารถจะนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งชี้ให้เด็กเห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่เป็นการทำเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แถมยังโยงไปที่วิชางานเกษตรได้อีกด้วย ที่สำคัญเด็กจะเกิดการเรียนรู้ คิดสร้างสรรค์ต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ได้อีกมากมาย


ข้อควรรู้

        เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือน พร้อมมีรูปภาพขั้นตอนวิธีการทำและรูปเล่มสวยงามน่าอ่าน

ข้อสังเกตุ

        เนื้อหาการทำปุ๋ยบางชนิดยังไม่ชัดเจน จากขั้นตอนเริ่มต้นและจบไปแบบงง ๆ (ปุ๋ยบางสูตร) ,อุปกรณ์บางชนิดและหัวเชื้อจุลินทรีย์แบบผงที่อยู่ในหนังสือไม่สามารถหาซื้อได้ในไทยโดยไม่ได้บอกว่าจะใช้อะไรทดแทน

 

Advertisement

NO COMMENTS

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Exit mobile version