เส้นทางสายสุขภาพดี

เส้นทางสายสุขภาพดี

รู้จักเกษตรอินทรีย์ของดีประจำภาคเหนือ

เรื่อง/ภาพ : ชลธิดา พระเมเด

ภาคเหนือของเรานอกจากจะมีบรรยากาศดี๊ดี มียอดดอยเขียวๆ สถานที่ท่องเที่ยวสวยงามให้ชิลล์กันตลอดทั้งปีแล้ว อีกอย่างที่เป็นจุดเด่นของภาคเหนือ คือพืชผักผลไม้ที่บอกเลยว่าอุดมสมบูรณ์ ออกดอกผลให้เก็บเกี่ยวมารับประทานกันตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในจังหวัดภาคเหนือตอนบนอย่าง เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน และที่กำลังอินเทรนด์มากๆ คือการทำเกษตรแบบอินทรีย์ ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่เกษตรกรไทยหันมาปรับเปลี่ยนวิถีการปลูกพืชแบบอินทรีย์ หรือ Organic กันมากขึ้น หมายความว่าผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็จะได้กินพืชผักปลอดภัยกันง่ายขึ้น และราคาถูกลงนั่นเอง

เส้นทางสายสุขภาพดี

เพื่อให้สินค้าเกษตรอินทรีย์แพร่หลาย หาซื้อได้ในวงกว้าง และสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค พาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ที่ดูแลเกษตรกรในเขตภาคเหนือตอนบนจึงจัดทำ

‘โครงการเกษตรเพื่ออาหารสุขภาพดีวิถีล้านนา’

รวบรวมเกษตรกร/ผู้ประกอบการที่ใช้ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ และผู้แปรรูปผลผลิต กว่า 500 ราย มาสร้างเป็นฐานข้อมูลเผยแพร่ผ่าน www.kasetin-c.com เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกสรร และสั่งซื้อสะดวกมากขึ้น เรียกว่าอยากได้สินค้าเกษตรอินทรีย์รูปแบบไหนไปรับประทาน ก็สั่งซื้อจากผู้ผลิตได้เลยโดยตรง

ก่อนจะเข้าไปช้อปปิ้งสุขภาพดีๆ ผ่านช่องทางออนไลน์กันให้สนุก เรามีผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ที่เข้าร่วมโครงการฯ มาแนะนำให้รู้จักกันก่อน 5 ราย บอกเลยว่าแต่ละเจ้านั้นมีความน่าสนใจไม่แพ้กัน ทั้งยังเน้นการทำเกษตรอินทรีย์ล้วนๆ เป็นการส่งต่อสุขภาพดีจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภค

 

1. Makkha Organic Herds เชียงใหม่

เสริมพลังป้องกันเบาหวานจากผักเชียงดา

มรรคา_เลือก_10e

ผักเชียงดาเป็นของกิ๋นบ้านเฮาที่นิยมปลูกตามรั้วบ้านมาตั้งแต่โบราณ นำมารับประทานได้หลากหลายทั้งปรุงสุกและรับประทานสดเป็นผักแกล้ม สำหรับชาวต่างชาตินั้นรู้จักผักเชียงดาเป็นอย่างดีในชื่อ Gymnema หรือ Gurma ในภาษาฮินดีว่าเป็นนักฆ่าเบาหวาน (Diabetes Killer) จัดเป็นสมุนไพรท้องถิ่นในป่าเขตร้อนของประเทศอินเดียตอนกลางและตอนใต้ รวมถึงประเทศศรีลังกา ใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานและโรคอ้วนมานานกว่าสองพันปี

ด้วยเหตุนี้เองผักเชียงดาจึงมีงานวิจัยรองรับมากมายทั้งไทยและต่างประเทศในเรื่องของการช่วยรักษาโรคเบาหวาน ประกอบกับแนวโน้มผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ การรักษามีค่าใช้จ่ายที่สูง และตลาดในต่างประเทศที่ให้การยอมรับสินค้าที่ได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างมาก

ทางบริษัท บี เอ็กซ์ ครีเอชั่น จำกัด ที่มีความเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมานานหลายปี จึงเริ่มหันมาให้ความสนใจผลิตภัณฑ์สมุนไพร เมื่อลองศึกษาดูแลพบว่าผักเชียงดามีสาร Gymnemic Acid สูงที่สุดในบรรดาพืชผัก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ปรับระดับอินซูลินในร่างกายให้สมดุล ช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ตับอ่อน

มรรคา_เลือก_05e

มรรคา_เลือก_07eมรรคา_เลือก_12        คุณเซฟ – จักรกฤช อินต๊ะ หนึ่งในผู้ก่อตั้งเล่าให้ฟังว่าที่หันมาสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรเชียงดา ตรามรรคคา เพราะต้องการนำเสนอสมุนไพรไทยออกไปสู่ตลาดสากล จากการศึกษาพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานในไทยกว่า 4.8 ล้านคน ฉะนั้นในเมื่อบ้านเรามีสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์สูงอยู่แล้ว การนำมาแนะนำให้ผู้บริโภครู้จักและผลิตออกมาในรูปแบบที่รับประทานง่าย จึงน่าจะตอบโจทย์กับคนยุคใหม่

โดยเชียงดาที่ใช้ผลิตมีแหล่งปลูกที่ได้รับมาตรฐานออร์แกนิคระดับสากล ตั้งอยู่ในอำเภอแม่แตง และอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ แปรรูปออกมาในรูปแบบของแคปซูลและชาชงสมุนไพร ผ่านกรรมวิธีการผลิต Mild Condition จึงคงคุณค่าจากธรรมชาติได้มากที่สุด จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สะดวก และปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

มรรคา_เลือก_14ช่องทางติดต่อ

  • Facebook : Makkah Organic Herbs
  • Line : makkha
  • Tel. 089-7199994
  • www.makkhaherbs.com

 

2.Hanada Organic Farm เชียงใหม่

สตรอเบอร์รี่ปลอดภัยไร้สารเคมี

ฮานาดะ_เลือก_05e        ถ้าพูดถึงอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ หลายคนคงนึกถึงสตรอเบอร์รี่ผลไม้เมืองหนาวรสหวานอมเปรี้ยวอันขึ้นชื่อของดินแดนนี้ ด้วยสภาพพื้นที่ และภูมิอากาศเหมาะสมแก่การปลูก ดังนั้นไร่ฮานาดะแห่งนี้จึงมีผลผลิตหลักก็คือสตรอเบอร์รี่นั่นเอง แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ไร่สตรอร์เบอร์รี่แห่งนี้โดดเด่นจนเราต้องนำมาแนะนำให้รู้จัก

ด้วยจุดเริ่มต้นที่ไม่ธรรมดาเมื่อห้าปีที่แล้ว คุณไหม-พิสมัย รอดสวาสดิ์ เจ้าของไร่ ตัดสินใจลาออกจากงานประจำที่กรุงเทพฯ เพื่อรีเซตวิถีชีวิตตัวเองใหม่ทั้งหมด เนื่องจากเธอป่วยเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE : Systemic Lupus Erythematosus) หรือที่รู้จักกันในชื่อโรคพุ่มพวงมายาวนานหลายปี จนคุณหมอประจำตัวบอกว่าหากเธอไม่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจะอยู่ได้ไม่เกินสองปี

นั่นทำให้เธอตัดสินใจขึ้นมาใช้ชีวิตด้วยวิถีธรรมชาติบำบัดที่อำเภอสะเมิง และพัฒนาผลผลิตในไร่ขึ้นเรื่อยๆ จากตอนแรกที่ปลูกกินเอง ถ้าเหลือก็แจกจ่ายเพื่อนรอบข้าง จนนำมาสู่การปลูกพืชออร์แกนิคอย่างเต็มตัว โดยได้คำแนะนำจากคุณฮานาดะ ชาวญี่ปุ่นผู้สนับสนุนการทำเกษตรอินทรีย์ในเมืองไทยมากว่าสี่สิบปี และเป็นที่มาของชื่อฮานาดะ ออร์แกนิค ฟาร์ม

ฮานาดะ_เลือก_02e        ฮานาดะ ออร์แกนิค ฟาร์ม เป็นเกษตรอินทรีย์แห่งแรกของอำเภอสะเมิง ด้วยพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 800 เมตร ดังนั้นการปลูกพืชเกษตรอินทรีย์ก็จะช่วยรักษาต้นน้ำ เมื่อน้ำไหลไปสู่ด้านล่าง ก็จะไม่มีสารเคมีปนเปื้อนลงไปด้วย ทั้งยังช่วยรักษาระบบนิเวศน์บนดอยให้สมบูรณ์

ตอนนี้ทางไร่มีโปรดัคท์หลักๆ อยู่สองอย่างคือสตรอเบอรืรี่และอีกอย่างคือหญ้าหวาน นอกจากนั้นก็จะมีผลไม้เมืองหนาวอย่างเมล่อน ผักเมืองหนาว และผลไม้ตามฤดูกาล จำหน่ายทั้งแบบสด และแปรรูป รวมทั้งการเปิดไร่ให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ในช่วงฤดูหนาว

คุณไหมเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยว่าสำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปของเธอนั้น จะเป็นแบบ Home Made เน้นกระบวนการผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ตัวเองกินอย่างไร ก็ผลิตสิ่งนั้นออกขาย อีกส่วนหนึ่งคือแปรรูปในโรงงานที่ได้รับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เช่นเดียวกัน จึงเป็นการส่งต่อสุขภาพดีต่อตนเอง และสู่ผู้อื่น

ฮานาดะ_เลือก_06e

ช่องทางติดต่อ


 

3.สวนสองพิมพ์ ลำพูน

สวนป่าอินทรีย์แบบผสมผสาน

ลุ่มน้ำลี้_เลือก_04e        ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก น่าจะใช้ได้ดีกับสวนเกษตรอินทรีย์แห่งนี้ ซึ่งเป็นของคุณสมัย แก้วภูศรี ประธานกลุ่มเกษตรทำสวนผลไม้อินทรีย์ลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน ใช้วิธีการปลูกพืชผสมผสานในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับดิน น้ำ ป่า และระบบนิเวศน์ธรรมชาติ

ภายในสวนแห่งนี้จึงมีตั้งแต่พืชผักคลุมดิน ผักเถาว์ใบเลื้อย พืชล้มลุก และไม้ผลยืนต้น ปลูกสลับกันไปบนพื้นที่กว่า 8 ไร่ในบริเวณบ้าน และอีก 10 ไร่ภายนอกพื้นที่ เน้นการจัดการตนเองของธรรมชาติ โดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง หรือปุ๋ยเคมีใดๆ ทั้งสิ้น บำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์จากขี้วัวผสมแกลบ และใช้การย่อยสลายจากจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ

ลุ่มน้ำลี้_เลือก_10eห้วยน้ำลี้_เลือก_12ห้วยน้ำลี้_เลือก_09        คุณสมัย เล่าถึงการเริ่มทำสวนสองพิมพ์ให้ฟังว่า ลำพูนเป็นจังหวัดที่ปลูกลำไยเป็นพืชหลัก แต่ด้วยปัญหาการส่งออก ประกอบกับต้นทุนการผลิตสูง แต่ช่องทางจำหน่ายมีน้อย และปัญหาสุขภาพของเกษตรกรจากการใช้สารเคมี จึงเกิดการรวมกลุ่มกันของเกษตรกรและร่วมกันทำการวิจัยเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ ทั้งในส่วนของวิธีการ และการตลาด จนกระทั่งเกิดเป็นกลุ่มเกษตรทำสวนผลไม้อินทรีย์ลุ่มน้ำลี้ขึ้นมา

ปัจจุบันมีเกษตรกรในกลุ่ม 35 ราย โดยมีการตั้งข้อกำหนดร่วมกันในการปลูกพืชแต่ละฤดูกาลว่าควรปลูกอะไร ปริมาณเท่าไหร่ เพื่อให้สามารถขายได้ราคา และสร้างมูลค่าทางการตลาด ภายใต้คำขวัญของกลุ่มคือ เกษตรอินทรีย์ยืดชีวีรักษ์โลก ผู้ผลิตก็มีสุขภาพที่ดี ผู้บริโภคก็จะได้รับประทานพืชผักที่ปลอดสารพิษ สิ่งแวดล้อมก็ดีขึ้นเพราะไม่ได้รับสารพิษ

สวนสองพิมพ์แห่งนี้ปลูกพืชพื้นถิ่นกว่าร้อยชนิด แบ่งเป็นผักกว่า 40 ชนิด ผลไม้อีกกว่า 10 ชนิด ยังไม่รวมสมุนไพร และไม้ยืนต้นที่ปลูกอยู่โดยรอบในลักษณะแบบสวนป่า นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดีที่มีความปลอดภัย ไร้สารตกค้าง จึงมั่นใจได้ว่าเป็นผลิตผลจากธรรมชาติ 100%

ห้วยน้ำลี้_เลือก_17ช่องทางติดต่อ


 

4.ภัคร์ฑิลา ไทย เฮอร์เบิล ลำปาง

นำคุณค่าสมุนไพรส่งตรงสู่มือคุณ

ภัคร์ฑิลา_เลือก_10e        จังหวัดลำปาง เป็นอีกพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ลุ่มน้ำ มีขุนเขาล้อมรอบ อากาศที่เหมาะสม จึงทำให้เป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญอีกแห่งของภาคเหนือ โดยเฉพาะในอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีผู้ผลิตสมุนไพรอยู่กลุ่มใหญ่

ด้วยปัจจัยเหล่านี้จึงนำมาสู่จุดเริ่มต้นของ ภัคร์ฑิลา ไทย เฮอร์เบิล แบรนด์เกษตรอินทรีย์แห่งแรกและแห่งเดียวของจังหวัดลำปาง ประกอบกับความสนใจเรื่องสมุนไพรเป็นทุนเดิมอยู่แล้วของคุณภัคร์ฑิลา สายเทพ เจ้าของแบรนด์ เธอเล่าให้ฟังว่าก่อนจะมาทำโปรดัคท์สมุนไพรอย่างเต็มตัว เธอเคยเป็นครูจิตวิทยาแนะแนวมาก่อน แต่เมื่อลองสอนแล้วรู้สึกว่าไม่ใช่ความถนัด จึงลาออกจากราชการ และไปเรียนต่อด้านแพทย์แผนไทย

โดยในตอนแรกปลูกตะไคร้จำหน่ายเองในตลาด E-Commerce และได้รับผลตอบรับดีมาก จากนั้นจึงขยายมาสู่การเป็นตัวแทนจำหน่ายสมุนไพรออร์แกนิค ทั้งแบบสดและแปรรูป รวมทั้งสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ปลูกพืชออร์แกนิค

ภัคร์ฑิลา_เลือก_09ภัคร์ฑิลา_เลือก_17ภัคร์ฑิลา_เลือก_15e        โดยมีเป้าหมายคือเป็นที่หนึ่งด้านสินค้าเกษตรอินทรีย์เพื่อการส่งออก เพราะตลาดออร์แกนิคในต่างประเทศค่อนข้างเติบโตมาก โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องเทศและอาหารที่ต้องการวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก ยิ่งแปรรูปแล้วยิ่งได้ราคาสูง และมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ

แต่การปลูกพืชออร์แกนิคนั้นทำยาก ผลผลิตจึงมีน้อยกว่าความต้องการของตลาด เพื่อให้มีวัตถุดิบเพียงพอกับความต้องการเธอจึงดำเนินการในลักษณะ Contract Farm กับเกษตรกรในพื้นที่ โดยสนับสนุน และให้ความรู้ทั้งการเตรียมดิน การปลูก จำหน่ายต้นพันธุ์แก่เกษตรกร รวมทั้งตรวจแปลง เพื่อควบคุมคุณภาพอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกษตรกรในเครือข่ายผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานตามที่ตลาดต้องการ และควบคุมให้สินค้าเป็นออร์แกนิคตั้งแต่ต้นทาง

ปัจจุบัน ภัคร์ฑิลา ไทย เฮอร์เบิล ไม่เพียงปลูกพืชออร์แกนิคเท่านั้น ยังรับแปรรูปสมุนไพร ผลิตอาหารเสริม และขึ้นทะเบียน อย. แก่ผู้ประกอบการด้วย

ภัคร์ฑิลา_เลือก_04ช่องทางติดต่อ


 

5.เกษตรไร้สารพิษบ้านห้วยโป่ง แม่ฮ่องสอน

กระเทียมอินทรีย์ของดีแม่ฮ่องสอน

บ้านห้วยโป่ง_เลือก_05e        กระเทียมเรียกได้ว่าเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารไทยแทบทุกเมนู และหลายคนอาจไม่ทราบว่าแหล่งปลูกหลักๆ อยู่ในภาคเหนือเรานี่เอง โดยเฉพาะจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีการปลูกกระเทียมอย่างแพร่หลาย ด้วยภูมิอากาศ ภูมิประเทศที่เหมาะสม เกษตรกรในพื้นที่ก็ยึดอาชีพนี้มานานหลายสิบปี จนกลายเป็นอีกหนึ่งของดีประจำจังหวัดไปแล้ว

เกษตรกรรายสุดท้ายที่เราจะพามาให้รู้จักกันนี้อยู่ที่บ้านห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เธอชื่อว่าคุณกรรณิการ์ ปัญญา ประธานกลุ่มเกษตรไร้สารพิษบ้านห้วยโป่ง เธอเล่าว่าชาวบ้านในแถบนี้ทำอาชีพเกษตรมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตาทวด ถึงฤดูทำนาก็จะปลูกข้าวไว้กิน หลังจากนั้นก็จะปลูกกระเทียม บางบ้านก็ปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ด้วย

ซึ่งแต่ก่อนตัวเธอเองและชาวบ้านในกลุ่มก็ทำเกษตรสารเคมี แต่เมื่อประมาณสามปีที่แล้ว ได้รวมกลุ่มกันกับชาวบ้านอีกประมาณ 10 ราย หันมาปลูกพืชปลอดสารพิษแทน เหตุผลแรกก็คือเรื่องเกษตรอินทรีย์ที่กำลังได้รับความนิยม เหตุผลต่อมาคือการทำเกษตรอินทรีย์ส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ปลูก

บ้านห้วยโป่ง_เลือก_03บ้านห้วยโป่ง_เลือก_07eบ้านห้วยโป่ง_เลือก_09e        คุณกรรณิการ์ บอกด้วยว่าก่อนจะหันมาทำเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มตัว เธอใช้สารเคมีในการปลูกพืชน้อยอยู่แล้ว จนมาถึงตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นในการทำนา หรือปลูกกระเทียมเธอจะไม่ใช้สารเคมีเลย ผลลัพท์ที่เห็นอย่างเด่นชัดคือเรื่องของสุขภาพ เธอไม่เคยเจ็บไข้ได้ป่วยร้ายแรง ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ไขมันปกติ เมื่อไม่ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ก็ทำให้ร่างกายแข็งแรง และยิ่งกระเทียมเป็นพืชกินหัว

ฉะนั้นถ้าเราปลูกกระเทียมโดยใช้สารเคมี สรรพิษเหล่านั้นก็จะสะสมที่หัว เวลาคนซื้อไปรับประทานก็อาจจะได้รับสารพิษตกค้าง เธอยังบอกด้วยว่าการทำเกษตรอินทรีย์แม้จะได้ผลผลิตไม่สมบูรณ์ หัวกระเทียมไม่ใหญ่เท่ากับที่ใช้สารเคมี แต่กระเทียมปลอดสารสามารถเก็บได้นานกว่า หากจะนำไปปลูกต่อก็สามารถทำได้ และที่สำคัญคือคนกินสบายใจได้เรื่องความปลอดภัย

บ้านห้วยโป่ง_เลือก_01ช่องทางติดต่อ

  • Tel. 087-1834248

 

ประโยคที่ว่า You are what you eat. ยังคงใช้ได้อยู่เสมอ ยิ่งในยุคนี้ที่ทุกอย่างรอบตัวล้วนปนเปื้อนไปด้วยมลพิษ หากเราจะเลือกกินสักนิด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทั้งยังปลอดภัย ไม่เพียงจะทำให้เรามีสุขภาพแข็งแรง ยังช่วยสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายพร้อมรับมือกับโรคภัยไข้เจ็บที่จ้องจะมาเยือน เมื่อสุขภาพดีแล้ว จะได้มีแรง มีกำลัง ทำในสิ่งที่อยากทำต่อไปนะคะ

‘กินดี ชีวีมีสุข’

เริ่มต้นได้ง่ายๆ เพียงคุณเลือกที่จะเปลี่ยนแปลง.