มาตรฐานและการขอใบรับรองผักปลอดสาร
ในปัจจุบันมีผักปลอดสารพิษออกมาจำหน่ายอย่างมากมาย โดยในท้องตลาดจะมีตราหรือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกที่มาของผลิตภัณฑ์เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในสินค้าที่ซื้อไป ผักปลอดสารพิษที่จะกล่าวถึงนี้มีความหมายที่แตกต่างกับผักอินทรีย์ ซึ่งผมได้เขียนบทความบอกความหมายของแต่ละประเภทแล้ว ถ้าคุณยังไม่ทราบ ผมให้เวลาอ่าน 10 นาทีก่อนจะไปบรรทัดต่อไป เชิญครับ
บทความผักอนามัย ผักปลอดสาร และผักอินทรีย์แตกต่างกันอย่างไร
ถือว่าเพื่อน ๆ ทราบถึงข้อแตกต่างระหว่างผักปลอดสารและผักอินทรีย์แล้วนะครับ และต่อไปนี้คือมาตรฐานและขั้นตอนในการขอใบรับรองซึ่งได้กำหนดไว้ดังนี้
มาตรฐานและการขอใบรับรองภายในประเทศ
1.มาตรฐาน GAP (Good Agriculture Prac-tices)
กำหนดเป็นมาตรฐานสินค้าผักและผลไม้ไทยระดับฟาร์มหรือแปลงปลูก การตรวจระบบ GAP จากกรมวิชาการเกษตรโดยมีการกำหนดหลักปฏิบัติ ดังนี้
- แหล่งน้ำต้องมาจากแหล่งสะอาด ไม่มีสิ่งเจือปน
- ไม่มีสารปนเปื้อนในดินที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนในผลผลิต
- ในวัตถุอันตรายในการผลิตตามข้อบังคับของกรมวิชาการเกษตร
- การเก็บรักษาและขนย้ายต้องมีโรงเรือนที่ได้มาตรฐาน
- มีการบันทึกข้อมูลการใช้วัตถุอันตรายและป้องกันศัตรูพืช
- ปลอดศัตรูพืชหลังเก็บเกี่ยว
- มีการคัดแยกคุณภาพของผลผลิตออกอย่างชัดเจน
- เครื่องไม้เครื่องมือในการเก็บเกี่ยวต้องสะอาดและปลอดสารปนเปื้อน
2.มาตรฐาน Q
มาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เห็นการให้ใช้เครื่องหมายรับรองให้เป็นแบบเดียวกัน ครอบคลุมไปที่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ สินค้าพืช ปศุสัตว์ และประมง โดยมีการออกเครื่องหมายรับรองสินค้าและเครื่องหมายรับรองระบบ โดยมีจุดประสงค์ดังนี้
- เครื่องหมาย Q จะคลอบคลุมมาตฐานต่าง ๆ เช่น GAP ,GMP ,HACCP.CoC ,เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
- เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ คุณภาพสินค้าเกษตร และอาหารคุณภาพภายใต้เครื่องหมาย Q
- สร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิต ผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมาย Q และพัฒนาผู้ผลิตให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานของกระทรวงมากขึ้น
คุณสมบัติของผู้ที่จะขอสินค้าเกษตรภายใต้เครื่องหมาย Q
- เป็นนิติบุคคลและมีความสนใจในการขอรับการตรวจรับรอง
- ให้ความร่วมมือคณะผู้ตรวจรับรอง
- ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของการตรวจรับรอง
- สถานที่จำหน่ายต้องมีสินค้าภายใต้เครื่องหมาย Q ทั้งการผลิตระดับฟาร์มและแปรรูป และมีสินค้าจำหน่ายอย่างสม่ำเสมอด้วย
พูดง่าย ๆ คือต้องผ่านการรับรองมาตรฐานตัว Q ทั้งระบบและ
เกษตรอินทรีย์ก็อยู่ภายใต้เครื่องหมาย Q นี้เช่นกัน
หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายรับรอง Q กับสินค้าเกษตรและอาหาร คลิก
ระบบการรับรองมาตรฐานการผลิต GAP พืช และพืชอินทรีย์ คลิก
มาตรฐานและการขอใบรับรองส่งออกต่างประเทศ
1.มาตรฐาน Global GAP
เป็นมาตรฐานที่จัดขึ้นโดยเอกชนยุโรป โดยควบคุมการผลิตสินค้าอย่างครบวงจร ได้แก่ พืชผัก ปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ เกษตรกรต้องเป็นผู้ติดต่อหน่วยงานที่ออกใบรับรองให้เข้าไปตรวจสอบ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- เกษตรต้องแจ้งความจำนงขอใบรับรอง
- เกษตรกรปรับตัวและนำแนวมาตรฐานไปปฏิบัติ (3 เดือน)
- ทำการประเมินเพื่อนำไปปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติอีกครั้ง
- หน่วยงานไปประเมินมาตรฐานฟาร์ม ถ้าตรงตามมาตรฐาน Global GAP เกษตรกรก็จะได้ใบรับรองดังกล่าว
- ใบรับรองมีอายุ 1 ปี
อ่านเพิ่มเติมมาตรฐาน Global GAP
2.มาตรฐาน EU GAP
กำหนดเพื่อควบคุมสนค้าเกษตรและอาหารไม่ให้เกิดโทษกับชีวิต ผู้ผลิตและผู้ส่งออกนั้นต้องควบคุมคุณภาพผักผลไม้ในทุก ๆ ขั้นตอนการผลิต การส่งออกนั้นต้องผ่านมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ Q-GAP จากกรมวิชาการเกษตรเสียก่อน
3.มาตรฐาน ASEAN GAP
มาตรฐานการผลิตผักผลไม้สดในภูมิภาคอาเซียน พัฒนาขึ้นจากมาตรฐาน GAP ของแต่ละประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผักผลไม้ที่ผลิตในอาเซียนมีคุณภาพและปลอดภัย สุดท้ายเพื่อความสะดวกทางการค้าระหว่างภูมิภาคนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติมมาตรฐาน ASEAN GAP
จะเห็นได้ว่าการขอใบรับรองต่าง ๆ ค่อนข้างมีความยุ่งยาก แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้เลยถ้าเราให้ความสำคัญกับสุขภาพของผู้บริโภค ทั้งยังเป็นการการันตีผลผลิตของเกษตรกรด้วยว่าเป็นผลิตที่ดี มีคุณภาพเชื่อถือได้ เป็นการรองรับตลาดพืชเกษตรที่เราปลูกด้วย
โดยมาตรฐานต่าง ๆ จะใช้เป็นเครื่องหมายประกันความมั่นใจของผู้บริโภคได้อีกทางด้วยครับ
ที่มา :
หนังสือผักปลอดสารพิษ ทำได้…รายได้งาม โดยสามารถอ่านรีวิวได้ที่นี่ครับ